กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วครับ

กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วครับ

>>สำหรับแนวทางปฏิบัติ สามารถศึกษาได้ตามลิงค์ :แนวทางการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ ยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ
https://drive.google.com/drive/folders/1GP_ty89FVedwP67Z-ICH-yNO2MZH0mbz

สรุปการดำเนินงานกลุ่มพัฒนาการอนามัยสิ่งแวดล้อม Monthly Profile: เดือนมกราคม 2564

Cluster อนามัยสิ่งแวดล้อม
สรุปการดำเนินงานกลุ่มพัฒนาการอนามัยสิ่งแวดล้อม Monthly Profile: เดือนมกราคม 2564

>>https://drive.google.com/file/d/1V4qgLPcnrPgO-z6y92SrW3OrCKwTEEOh/view?usp=sharing

“ผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน” จิตอาสาป้องกันโควิด-19  

ผ่านมาครึ่งเทอมแล้วสำหรับการเปิดเรียน พร้อมกับการจัดการตามมาตรการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการตรวจราชการและกำกับติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคดังกล่าวของสถานศึกษามาอย่างต่อเนื่อง  โดยล่าสุดได้มีการจัดตั้ง “ผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน” ซึ่งเป็นจิตอาสาที่เป็นข้าราชการบำนาญ ด้านการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา โดยมีบทบาทดำเนินการแนะนำให้ความรู้การดูแลสุขภาพ ตรวจตรา และติดตามการปฏิบัติตามมาตรการและให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ จังหวัดละ 2 คน รายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องกลับมายังกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคโควิด 19 เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและปลอดภัยสูงสุด  ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับผู้พิทักษ์อนามัยกันครับ

“ผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน” จิตอาสาป้องกันโควิด-19  

          สถานศึกษาหรือโรงเรียนมีหน้าที่พัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีศักยภาพ สามารถเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นสถานที่ปลูกฝังความรู้ ทัศนคติ สร้างพฤติกรรมอย่างเหมาะสมแข็งแรงทั้ง

ด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเด็กในวัยเรียนทุกคนจะใช้เวลาอยู่ในสถานศึกษาเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ทำให้สถานศึกษากลายเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า 2019

ดังนั้นเพื่อการกำกับ ติดตาม ป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด 19 อย่างมีประสิทธิภาพ กรมอนามัยในฐานะเป็นองค์กรหลักในการอภิบาลระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงส่งเสริมให้มี “ผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน” ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ ตรวจตรา เฝ้าระวัง และรายงาน การปฏิบัติตามมาตรการหลักในการป้องกัน การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในสถานศึกษาขึ้น

โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1.สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและได้รับการสนับสนุนให้มีชีวิตอยู่ภายใต้สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเกิดโรค (New Norm) 2.สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเฝ้าระวังการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในโรงเรียนและชุมชน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดซ้ำ และ3.สร้างระบบการเฝ้าระวังการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในโรงเรียน ชุมชน และมี Health coach เพื่อช่วยเหลือในระดับพื้นที่

 

คุณสมบัติผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน

  1. เป็นผู้ที่มีจิตอาสา Coach health ปกป้อง ดูแล ช่วยเหลือ เฝ้าระวังการปฏิบัติตาม“คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการปองกันการแพรระบาดของโรคโควิด-19”
  2. เป็นข้าราชการบำนาญด้านการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา ที่เคยปฏิบัติหน้าที่ เช่น นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านส่งเสริมสุขภาพ,หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ, หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรค, สาธารณสุขอำเภอ, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือตำแหน่งด้านการศึกษา จังหวัดละ 2 คน
  3. มีที่อยู่และอาศัยอยู่ในจังหวัด/พื้นที่เป้าหมาย
  4. มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อร้ายแรงสามารถปฏิบัติงานได้
  5. สามารถใช้โปรแกรมออนไลน์ผ่านมือถือได้

บทบาทผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน

  1. เป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ (Coach Health) การป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด – 19 ในสถานการศึกษา และชุมชน
  2. ร่วมทีมตรวจราชการระดับจังหวัด และการกำกับ ติดตามประเมินผลการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด – 19 ในสถานศึกษา
  3. เป็นผู้ประเมินภายนอกในการเฝ้าระวังการปฏิบัติตาม “คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19”ของสถานศึกษา โดย สุ่มประเมินสถานศึกษา จำนวน 3 แห่งต่อเดือนต่อผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน 2 คน ตามแบบประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมหลังเปิดภาคเรียน  และการประเมินตนเองของนักเรียนในการเตรียมความพร้อมหลังเปิดเรียนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 จำนวน 10 คนต่อโรงเรียน และบันทึกรายงานแบบออนไลน์
  4. เป็นผู้ประเมินภายนอกการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในชุมชน โดยการสุ่มประเมิน จำนวน 3 แห่งต่อเดือนต่อผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน 2 คน ตามแบบตรวจประเมินเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประเภท ตลาด (1 แห่ง ต่อเดือน) และประเภทร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม รถเข็น หาบเร่ แผงลอย การเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2 แห่งต่อเดือน)  พร้อมสุ่มประชาชนที่มารับบริการฯ ข้างต้น ให้ประเมินตนเองในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 จำนวน 10 คนต่อแห่ง และบันทึกรายงานแบบออนไลน์
  5. รายงานออนไลน์ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขรับทราบ เพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

เห็นแบบนี้แล้วผู้ปกครองก็คงจะรู้สึกอุ่นใจได้ระดับหนึ่งแล้วนะครับ ซึ่งนอกจากมาตรการต่างๆเหล่านี้ที่รัฐได้จัดให้แล้ว ที่เหลือก็คือตัวเราเองที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆอย่างเข้มงวด อย่าชะล่าใจเพราะสถานการณ์โลกในขณะนี้แนวโน้มผู้ป่วยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นวิถี New Normal ยังคงเป็นคำตอบสำคัญสำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ต่อไป

 

ที่มา : กรมอนามัย

ขอบคุณภาพถ่ายจาก เครือข่ายผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียนพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11

 

แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และการฝึกซ้อม ในสถานประกอบการประเภทการจัดกิจกรรมแข่งขันวิ่ง หมวดกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

ช่วงนี้เป็นช่วงการผ่อนปรนตามมาตรการจัดการสถานการณ์โควิด-19 หลายๆแห่งเริ่มมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายขึ้น เริ่มมีการรวมตัวของประชาชนมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้เกิดการผ่อนคลาย และกิจกรรมสำคัญกิจกรรมหนึ่งที่หลายๆแห่งเริ่มทยอยจัดขึ้น คือการวิ่ง ดังนั้นในวันนี้เราจะนำเสนอมาตรการแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และการฝึกซ้อม ในสถานประกอบการประเภทการจัดกิจกรรมแข่งขันวิ่ง มาให้ทุกท่านรับทราบและถือปฏิบัติไปด้วยกันครับ

แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และการฝึกซ้อม ในสถานประกอบการประเภทการจัดกิจกรรมแข่งขันวิ่ง หมวดกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ

  1. ทำการขออนุญาตหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อขออนุญาตในการจัดการแข่งขัน โดยเฉพาะหน่วยงานสาธารณสุข และลงทะเบียนเพื่อผ่อนคลายการประกอบกิจการหรือจัดกิจกรรมและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคได้ ผ่านแอปพลิเคชันตามที่ทางราชการกำหนด (ไทยชนะ)
  2. เลือกจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดการแข่งขัน ให้เป็นสถานที่ปิด หลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมชนที่มีคนพลุกพล่าน
  3. จัดให้มีทางเข้าออกทางเดียวสำหรับนักวิ่ง ในกรณีที่มีทางเข้าออกหลายทาง ต้องมีจุดคัดกรองทุกเส้นทาง และจำกัดทางเข้าออกสำหรับนักวิ่ง
  4. เส้นทางเดินภายในงานควรมีความกว้างเพียงพอกับปริมาณของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
  5. มีระบบการลงทะเบียนรับสมัครควรผ่านระบบออนไลน์ไม่ควรรับสมัครในวันแข่งขัน
  6. จัดให้มีจุดตรวจวัดอุณหภูมิของทีมงาน นักวิ่ง หรือผู้ติดตาม และทำสัญลักษณ์ให้กับผู้ที่ผ่านการคัดกรอง (ถ้ามีอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ห้ามปฏิบัติงานหรือใช้บริการ แนะนำให้พบแพทย์ทันที
  7. จัดระบบและพื้นที่ในการลงทะเบียนของนักวิ่งและผู้ติดตามทุกครั้ง ในการเข้าร่วมงาน เพื่อกรอกข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชื่อ-นามสกุล เบอร์ติดต่อ วันและช่วงเวลาที่เข้าร่วมงาน เป็นต้น รวมทั้งบันทึกประวัติพนักงาน และประวัติการเดินทาง
  8. ขั้นตอนการรับสมัคร ควรมีแนวทางบริหารจัดการในการกระจายลดความแออัดของกิจกรรม และเว้นระยะห่างในการรับหมายเลขแข่งขัน การปล่อยตัว ทั้งนี้อาจใช้การกำหนดเวลาที่จะมาร่วมกิจกรรม โดยกระจายความแออัดออกไป เช่น การแบ่งเวลารับอุปกรณ์แข่งขัน การแบ่งเวลาปล่อยตัว เป็นต้น
  9. ลดกิจกรรมรวมคนทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขัน เช่น การประชุมด้านเทคนิคของนักวิ่งอาจใช้ การสื่อสารทางออนไลน์ เป็นต้น
  10. กำหนด และจัดพื้นที่เว้นระยะห่างกันของผู้ใช้บริการ 1- 2 เมตร ที่ชัดเจนทั้งจุด Check in และจุดปล่อยตัว รวมถึงบริเวณที่มีการต่อคิว เช่น ต่อแถวกันเข้าห้องน้ำ ต่อคิวเพื่อตรวจคัดกรอง
  11. มีระบบการกระจายนักกีฬาวิ่งในการเข้าพื้นที่งานแข่งขันวิ่ง เพื่อจำกัดจำนวนคนเข้าพื้นที่ และให้ควบคุมจำนวน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่ให้มีความแออัด จัดเป็นรอบในการเข้าพื้นที่ โดยคำนวณจากพื้นที่ในสัดส่วน 5 ตารางเมตร ต่อ 1 คน
  12. จัดให้ทำการ Check In – Out ในแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”ก่อนเข้า และออกจากงานของตัวเอง และผู้ร่วมแข่งขันทุกคน
  1. ลดความแออัดของนักวิ่งที่เข้าสู่จุดบริการน้ำดื่ม อาจกำหนดการแยกรับการบริการ เช่น แยกจุดบริการ ออกเป็น ซ้าย-ขวา และเพิ่มความห่างของโต๊ะบริการให้ และการบริการน้ำดื่ม เกลื่อแร่ ควรเป็นชนิดที่ปิดผนึก และ นัดหมายแบ่งเวลาในการรับอุปกรณ์ เสื้อ เบอร์วิ่ง และวันเวลาในการแข่งขันอย่างชัดเจน
  2. ปรับรูปแบบการปล่อยตัวนักกีฬา เพื่อลดความแออัด
  3. ความสะอาดพื้นที่จัดงาน และบริเวณที่มีโอกาสเกิดการสัมผัสบ่อย ๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำยาฆ่า เชื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น พื้น ผนัง ประตู ลุกบิดประตู จุดประชาสัมพันธ์ จุดชำระเงิน สวิตช์กดลิฟท์ต่าง ๆ
  4. จัดให้มีจุดบริการล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือไว้บริการตามจุดต่าง ๆ อย่างพอเพียง
  5. ทำความสะอาดห้องน้ำ และจุดบริการต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทุกๆ 2 ชั่วโมง
  6. จัดเตรียมจุดทิ้งขยะ ของเสีย หน้ากากอนามัย และถุงมืออนามัยที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสมบริเวณจุดสตาร์ท พื้นที่หลังนักวิ่งเข้าเส้นชัย และจุดรับประทานอาหาร
  7. ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ในการป้องกันและการลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 ในงานวิ่งให้กับนักวิ่ง และทีมงานต่าง ๆ ให้ทราบในขั้นตอน เช่น วิธีการสังเกตผู้สงสัยติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยคำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธี และคำแนะนำกฎกติกาใหม่ที่ใช้
  8. ปรับรูปแบบพิธีการมอบเหรียญรางวัล และประกาศผลการแข่งขัน เพื่อลดความแออัด และใกล้ชิดกันของนักกีฬา

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการ

  1. ตรวจคัดกรองและวัดอุณหภูมิของเจ้าหน้าที่ Staff และ Volunteer ของทุกทีมก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกครั้ง (ถ้ามีอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที)
  2. เจ้าหน้าที่ Staff และ Volunteer ทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาการทำงาน และสวมถุงมืออนามัยในกลุ่มที่ต้องสัมผัสบริเวณเสี่ยง หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกับนักวิ่ง
  3. ควรจัดเตรียมแอลกอฮอล์ให้เจ้าหน้าที่ Staff และ Volunteer ของทุกทีมใช้ตลอดเวลาการทำงาน และกระจายทั่วพื้นที่การจัดงาน
  4. ติดตั้งฉากกั้นพลาสติกในจุดที่มีโอกาสใกล้ชิดกันของนักกีฬา หรือเจ้าหน้าที่ Staff และ Volunteer
  1. เตรียมเจ้าหน้าที่แจกสิ่งของให้เพียงพอ และมีจำนวนจุดให้บริการจำนวนมากเพื่อลดการแออัด และต้องใส่หน้ากากอนามัยและถุงมือในการมอบของต่าง ๆ และจะต้องเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ระหว่างนักกีฬาแต่ละคน
  2. จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม โดยแพ็คอย่างสนิทและแจกเป็นเซ็ต ประชาสัมพันธ์ให้นำกลับไปรับประทานที่บ้าน หรือจัดพื้นที่ให้กว้างขวาง เหมาะสมสำหรับการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม เว้นระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อ

 

 

 

 

 

 

 

แนวทางปฏิบัติสำหรับนักกีฬาวิ่งและผู้ใช้บริการ

  1. ผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องไม่มีอาการป่วย
  2. นักกีฬาวิ่งทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยในการเข้าสู่พื้นที่งาน โดยไม่ต้องสวมหน้ากากขณะอบอุ่นร่างกาย และขณะวิ่ง และให้ใส่กลับอีกครั้งเมื่อเข้าเส้นชัยเมื่อหายเหนื่อยแล้ว
  3. นักวิ่งทุกคนต้องผ่านจุดคัดกรอง โดยนักวิ่งอุณหภูมิต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้ผ่านการฆ่าเชื้อ และเคลื่อนที่ไปจุดถัดไป นักวิ่งที่อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้ทำการตรวจซ้ำ หากอุณหภูมิยังสูง ให้ทำการคัดแยกส่งห้องพยาบาลและซักประวัติเบื้องต้น และให้เป็นขั้นตอนของแพทย์ต่อไป
  4. ผู้เข้าแข่งขันต้องทำการ Check In – Out ในแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ก่อนเข้าสถานที่แข่งขัน และหลังออกจากสถานที่แข่งขั้น
  5. นักกีฬาวิ่งทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยในการเข้าสู่พื้นที่งาน โดยไม่ต้องสวมหน้ากากขณะอบอุ่นร่างกาย และขณะวิ่ง และให้ใส่กลับอีกครั้งเมื่อเข้าเส้นชัยเมื่อหายเหนื่อยแล้ว
  6. ปฏิบัติตามขั้นตอนและรูปแบบการปล่อยตัวอย่างเคร่งครัด เช่น มีการปล่อยตัวเป็นบล็อก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมาตามเวลาที่กำหนดเพื่อลดการแออัดของพื้นที่ และเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร โดยกำหนดจุดยืนก่อนปล่อยตัวเป็นแบบฟันปลา และจำกัดจำนวนคนต่อรอบการปล่อยตัว
  7. ล้างมือด้วยสบู่ และน้ำสะอาด หรือ แอลกอฮอล์ ในโอกาสที่เป็นไปได้
  8. ควรลดการพูดคุยระยะใกล้ชิด ควรรักษาระยะห่าง 1-2 เมตร จากผู้ร่วมแข่งขัน และเจ้าหน้าที่ภายในงาน
  9. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
  10. ไม่บ้วนน้ำลาย น้ำมูก หรือเสมหะลงพื้น
  11. ทิ้งขยะให้ลงถัง และแยกประเภทขยะให้ถูกต้อง
  12. ไม่ควรวิ่งตามหลังนักกีฬาผู้อื่นในระยะประชิด ควรทิ้งระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตรในขณะแข่งขัน หรือวิ่งแซงระยะห่างด้านข้างอย่างน้อย 2 เมตร

แนวปฏิบัติเพิ่มเติมสำหรับการจัดงานวิ่ง

  1. ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัส เช่น สตาฟที่คอยให้บริการทั้งในงาน Sport Expo และวันจัดวิ่ง ร้านค้าออกบูธ เจ้าหน้าที่ขายสินค้าที่ระลึก ต้องดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย หรือ Face Shield ในขณะปฏิบัติงานตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น และพนักงานทำความสะอาดต้องสวมถุงมือขณะปฏิบัติงานทุกครั้ง
  2. ติดตั้งแผงกั้น หรือฉากกั้นพลาสติกใส และเตรียมเจลล้างมือที่จุดที่มีโอกาสเกิดการสัมผัสกันสูงเช่น จุดลงทะเบียน จุดรับอุปกรณ์ และร้านจำหน่ายสินค้า
  3. หากมีอาการไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที
  4. ต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือการใช้แอลกอฮอล์ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อภายในงาน Sport Expo และงานวิ่ง
  5. ควรจัดให้มีป้ายประชาสัมพันธ์เตือนการล้างมือภายในห้องน้ำ จุดบริการต่าง ๆ ภายในบริเวณจัดงาน ในเส้นทางการแข่งขัน และเต็นท์พยาบาล
  6. พนักงานเก็บขยะที่ปนเปื้อนเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย เช่น กระดาษเช็ดปาก กระดาษชำระในห้องน้ำ ต้องมีการป้องกันตนเองโดยใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ถุงมือยาง และจะต้องล้างมือทันทีหลังเสร็จงาน ส่วนกระดาษชำระหรือหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ต้องมีการจัดการที่เหมาะสมก่อนทิ้งลงถังขยะ
  7. จัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการป้องกันและลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 ในงานวิ่งให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน Staff Volunteer ต่าง ๆ ให้ทราบในขั้นตอน เช่น วิธีการสังเกตผู้สงสัยติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยคำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธี

 

ที่มา : กรมอนามัย

ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/chombuengmarathon/

 

วารสารประชาสัมพันธ์ กลุ่มพัฒนาการอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 11 Volume 1, Issue 10(July-Aug’2020)

วารสารประชาสัมพันธ์ กลุ่มพัฒนาการอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 11

Monthly Report>>Volume 1, Issue 10(July-Aug’2020)

สถานประกอบการกับวิถีชีวิต New Normal

สถานประกอบการกับวิถีชีวิต New Normal

New Normal คืออะไร?

New Normal คือความปรกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งหมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีตเพราะได้รับผลกระทบจากบางสิ่ง บางเหตุการณ์ จนแบบแผนและแนวทางที่คุ้นเคยเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีชีวิตใหม่ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดความคุ้นชิน และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตปรกติ

ที่มาของ New Normal

New Normal ถูกใช้ครั้งแรกโดยบิลล์ กรอส (Bill Gross) ผู้ก่อตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ชาวอเมริกัน โดยใช้อธิบายสภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ในสหรัฐฯ ช่วงระหว่างปี 2007-2009 และถูกนำมาใช้สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลง และมีโอกาสที่จะไม่กลับมาเติบโตถึงระดับเดิมได้อีก

เทรนด์พฤติกรรมแบบ New Normal

1. การใช้เทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ต  เทคโนโลยีควบคู่กับอินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตมากขึ้น ที่จากเดิมมีมากอยู่แล้ว แต่ในสังคมยุค New Normal สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในแทบทุกจังหวะชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การเรียนออนไลน์ การทำงานที่บ้าน การประชุมออนไลน์ การซื้อสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรม และการเอ็นเตอร์เทนชีวิตรูปแบบต่างๆ อย่างดูหนัง ฟังเพลง

2. การเว้นระยะห่างทางสังคม  ผู้คนในสังคมจะเห็นความสำคัญของการเว้นระยะห่างที่เป็นแนวทางการใช้ชีวิตช่วงวิกฤติโควิด-19 และจะดำเนินชีวิตแบบนั้นต่อไป โดยรักษาระยะห่างทางกายภาพเพิ่มขึ้น และใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการสื่อสารและการใช้ชีวิต ลดการปฏิสัมพันธ์ การไปในสถานที่สาธารณะ และเน้นการทำกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น

3. การดูแลใส่ใจสุขภาพทั้งตัวเองและคนรอบข้าง  โดยเกิดความคุ้นชินจากช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ต้องดูแลด้านสุขภาพและความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ดังนั้นพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และการล้างมืออย่างถูกวิธี และหมั่นสังเกตตัวเองเมื่อไม่สบายจะยังคงมีต่อไป รวมถึงการหันมาใส่ใจสุขภาพ การออกกำลังกาย และการทำประกันสุขภาพจะมีแนวโน้มมากขึ้น

4. การใช้เงินเพื่อการลงทุน  ยุค New Normal เป็นจังหวะที่ผู้คนยังระมัดระวังการลงทุนใหม่ๆ และลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน

5. การสร้างสมดุลชีวิต  การมีโอกาสได้ทำงานที่บ้าน ลดจำนวนวันการเข้าออฟฟิศ หรือการลดการพะปะผู้คนในสังคม แล้วหันมาใช้ชีวิต และทำงานที่บ้าน ทำให้ผู้คนมองเห็นแนวทางที่จะสร้างสมดุลชีวิตระหว่างอยู่บ้านมากขึ้น และจะเป็นแนวทางในการปรับสมดุลชีวิตระหว่างเวลาส่วนตัว การงาน และสังคมให้สมดุลมากยิ่งขึ้น

แนวโน้มชีวิตยุค New Normal

ความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนนั้น ได้มีการสำรวจโดยสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ซึ่งได้เปิดผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง จริตใหม่ประชาชนหลังพ้นโควิด-19 กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,255 ตัวอย่าง ซึ่งผลสรุปบางส่วนออกมา ดังนี้

  • ร้อยละ 86.2 ระบุ สั่งสินค้าเดลิเวอรี่มากขึ้น
  • ร้อยละ 83.7 พูดคุย ติดโลกโซเชียลมากขึ้น
  • ร้อยละ 81.5 ใช้เทคโนโลยีสื่อสาร โซเชียลมีเดียมากขึ้น
  • ร้อยละ 79.8 คุ้นเคยลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ
  • ร้อยละ 79.1 ดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น
  • ร้อยละ 64.2 ดูแลสุขภาส่วนรวมมากขึ้น
  • ร้อยละ 62.6 ศึกษาเล่าเรียนออนไลน์มากขึ้น
  • ร้อยละ 60.6 แต่งกายใช้หน้ากากอนามัยเป็นแฟชั่น ดูดีมีสไตล์มากขึ้น
  • ร้อยละ 56.6 คบหาพบปะผู้คนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น
  • ร้อยละ 55.2 ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) มากขึ้น

5 ปรากฎการณ์ New Normal หลังผ่านพ้นโควิดฯ

1. โลกจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี  โดยเทคโนโลยีจะค่อย ๆ เข้ามาบทบาทในทุกธุรกิจ เพื่อช่วยในเรื่องการสร้างรายได้ เพิ่มยอดขาย การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้นและรวดเร็วยิ่งกว่า การทำธุรกิจรูปแบบออฟไลน์ หรือมีหน้าร้านเปิดขายช่องทางเดียวในรูปแบบเดิม ๆ ที่สำคัญ ในบางองค์กร หรือบางบริษัท อาจมีมาตรการปรับลดจำนวนพนักงาน เพราะการเข้ามาของ Ai หรือ “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์”  ตลอดจน การที่กลุ่มคนทำงานในบางสาขาอาชีพ สามารถ Work From Home หรือทำงานที่บ้านได้ ผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ และแพลตฟอร์มที่ล้ำสมัยต่าง ๆ  ทำให้นายจ้างในบางองค์กรมองว่า สามารถลดภาระการดูแลพนักงาน ในขณะที่ธุรกิจยังคงขับเคลื่อนได้ตามปกติ

2.การซื้อขายสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์จะเติบโตขึ้นอีกอย่างมหาศาลเพราะทุกคนยังมีความกังวลและตระหนักถึงความไม่ปลอดภัย ในการออกจากบ้านไปชอปปิ้งตามห้างฯ เหมือนเช่นพฤติกรรมปกติที่ทำกันก่อนหน้าโควิด

ซึ่งปัจจุบัน พฤติกรรมจับจ่ายใช้สอยแบบออฟไลน์จะมีความเสี่ยงติดโรคที่สูงขึ้น อีกทั้ง สินค้าจำพวกของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ จะถูกแปรรูปมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หันมาสั่งซื้อออนไลน์ โดยการคิดค้นและผ่านกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้สามารถเก็บได้นานขึ้น เพื่อให้ End User สามารถสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ และนำไปปรุงอาหารทานได้อย่างปลอดภัย

3.จับจ่ายด้วยเหตุผลเหนืออารมณ์และความอยากด้วยเศรษฐกิจโลกไม่ดีอยู่แล้ว ซ้ำร้ายมาเจอพิษโควิดขวิดเข้าใส่อีก ทำให้ประชาชนทั่วโลกต่างรู้ดีว่า ต้องรัดเข็มขัดให้แน่นขึ้นกว่าเดิม
การเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและการใช้บริการธุรกิจแต่ละประเภท โดยกลุ่มผู้บริโภคแต่ละคนจะคำนึงถึง เหตุผลและความจำเป็น มากกว่าสนองความต้องการของตัวเอง โดยจะระมัดระวังการจับจ่ายในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ ประชาชนจะให้ความสำคัญในเรื่องของเงินออมและการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด

4.สังคมปลอดเชื้อโดยทุก ๆ สถานที่ทั่วประเทศและทั่วโลกจะถูกเฝ้าจับตามอง การเดินทางเข้า / ออก ข้ามเขต ข้ามเมือง ข้ามประเทศ จะถูกคุมเข้มภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างรัดกุม ซึ่งที่พวกเราไม่เคยพบเจอมาก่อน ธุรกิจที่จำเป็นต้องดึงคนเข้าร่วม เช่น อีเว้นท์ หรือกิจกรรมสาธารณะ ธุรกิจฟิตเนส การเข้าชมคอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ ฯลฯ จะต้องการันตีว่า เป็นสังคมปลอดเชื้อ 100% และเราจะรู้สึกได้ว่า ทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

5.ทุกอย่างจะส่วนตัวมากขึ้นทั้งในเรื่องไลฟ์สไตล์ หรือการประกอบอาชีพ / การทำธุรกิจ ซึ่งจะไม่มีการรวมกลุ่มถ้าไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อจะสอบถามสินค้าและบริการกับผู้ขาย ผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์ หากพอใจในการตรวจดูสินค้าหรือบริการนั้น ๆ จะสั่งซื้อ รอรับสินค้าหรือบริการที่บ้าน หรือจุดนัดรับ  เพื่อลดความเสี่ยงการเดินทางไปพบปะพูดคุยกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อไวรัส และยังช่วยประหยัดเวลา และสะดวกรวดเร็วในการซื้อขาย/ทำธุรกิจอีกด้วย

New Normal หลังวิกฤติโควิด-19 กับการปรับตัว

ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ

ขณะที่โควิด-19 กำลังระบาดนั้น ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตของผู้คน แต่ยังส่งผลกระทบให้ธุรกิจ และเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง บางธุรกิจอาจเติบโต เพราะปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้ ขณะที่บางธุรกิจอาจทรุดหรือปิดตัวเพราะไม่พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงนั้น แน่นอนว่าเมื่อวิกฤติครั้งนี้ผ่านพ้นไป ย่อมพ่วงมาด้วยความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เรียกว่า New Normal ซึ่งจะเข้ามามีบทบาท และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแนวทางและรูปแบบการดำเนินธุรกิจทุกขนาด โดยแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้

  1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลในธุรกิจมากขึ้นเช่น การซื้อสินค้าและบริการ ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมแนวทางสำหรับการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้บริโภค เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์
  2. การขายสินค้าแบบอัตโนมัติพร้อมบริการข้อมูลแก่ลูกค้าแบบเรียลไทม์ เพื่อความรวดเร็วเข้าถึงทุกที่ทุกเวลา
  1. การนำหุ่นยนต์ ยานพาหนะไร้คนขับ หรือโดรนมาให้บริการในธุรกิจต่างๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ การแพทย์
  2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดการออนไลน์เช่น กลุ่มธุรกิจอีเวนท์ อบรม สัมมนา

ประชาชนคนทำงาน

  1. การรักษาระยะห่างในที่ทำงานคนทำงานที่เปลี่ยนจากการทำงานที่บ้าน และกลับมาเข้าทำงานที่บริษัท ยังคงคุ้นเคยกับการปฏิบัติแบบรักษาระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส และยังคงเห็นความสำคัญจากการดูแลสุขภาพในที่ทำงานมากขึ้น
  2. ใช้เทคโนโลยีช่วยทำงานมากยิ่งขึ้นจากการรักษาระยะห่างทางสังคมและการ work from home ที่เคยปฏิบัติจนเคยชิด ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงาน โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต และแอปพลิเคชันต่างๆ เช่นการประชุมงาน การส่งงาน
  3. มีการพัฒนาทักษะผ่านคอร์สออนไลน์ในการทำงานช่วงโควิด-19 ทำให้ผู้คนบางกลุ่มถูกเลิกจ้าง หรือถูกลดเงินเดือน การพัฒนาตัวเองเพื่อให้มีความสามารถ และเป็นผู้เชี่ยวชาญตามที่ตลาดแรงงานยังต้องการจึงมีความสำคัญ ดังนั้นการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ผ่านช่องทางออนไลน์ จึงเป็นทางเลือกของชาวออฟฟิศที่ทำให้ได้พั?นาตัวเองพร้อมกับที่ยังทำงานประจำได้อยู่

       

         “New Normal” ในวันนี้อาจเป็นแนวทางในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และจะกลายเป็นคำที่ถูกพูดถึงอย่างปรกติวิธีในอนาคตเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในวิกฤติต่างๆ ก่อนหน้านี้ แต่การเตรียมพร้อมและตั้งรับอย่างดียังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทั้งธุรกิจและชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ไม่ว่าจะมีอีกกี่วิกฤติผ่านเข้ามา

 

 

ที่มา:

1.https://www.flathailand.com/franchise_knowledge_detail.asp?topicid=281

2.https://www.dharmniti.co.th/new-normal/

3.http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER11/DRAWER091/GENERAL/DATA0000/00000923.PDF

 

 

วารสารประชาสัมพันธ์ กลุ่มพัฒนาการอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 11 Volume 1, Issue 9(June-July’2020)

วารสารประชาสัมพันธ์ กลุ่มพัฒนาการอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 11

Monthly Report>>Volume 1, Issue 9(June-July’2020)

 

การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาก่อนเปิดเทอม

การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาก่อนเปิดเทอม

กรมอนามัย ได้ให้แนวทางเพื่อเป็นกรอบประเมินความพร้อมของสถานศึกษาไว้เป็น 6 มิติ ได้แก่

มิติที่ 1 การดำเนินงานเพื่อความปลอดภัย ลดการแพร่เชื้อโรคด้วย 6 มาตรการหลักคือ 1) มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา 2) สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสถานศึกษา 3) ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกฮอล์อย่างเพียงพอ 4) จัดให้มีการเว้นระยะห่าง 5) ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสที่มีการใช้ร่วมกันบ่อย และ 6) ลดความแออัด ไม่จัดกิจกรรมที่มีการสัมผัสร่วมกัน

มิติที่ 2 การเรียนรู้ สนับสนุนสื่อความรู้ป้องกัน COVID- 19 เตรียมความพร้อมการเรียนรู้ของเด็กตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนาการ และสร้างความเข้มแข็ง ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส กลุ่มเด็กพิเศษ และเด็กในพื้นที่ห่างไกลมาก

มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง เตรียมแผนรองรับด้านการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย แนวปฏิบัติเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma)

          มิติที่ 5 นโยบาย มีแผนงาน โครงการรองรับ แต่งตั้งคณะทำงาน กำหนดบทบาทหน้าที่และสื่อสาร

มิติที่ 6 การบริหารการเงิน โดยพิจารณาการใช้งบประมาณสำหรับการป้องกันการระบาดของโรค COVID-9 ตามความจำเป็นและเหมาะสม

ซึ่งนอกจากสถานศึกษาจะต้องควบคุมมาตรการ และปฏิบัติตามคำแนะนำในทุกมิติแล้ว ในส่วนของผู้ปกครองซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด สามารถมีบทบาทและมีส่วนร่วมกับสถานศึกษาเพื่อป้องกัน COVID-19 ได้ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถเข้าไปประเมินตนเองตามมาตรการต่างๆได้ที่ แพลทฟอร์ม THAISTOPCOVID กรมอนามัย https://stopcovid.anamai.moph.go.th/ เมนูแบบประเมินสถานประกอบการ เลือกโรงเรียน/สถานศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดภาคเรียนที่จะมาถึงนี้

 8 ข้อควรปฏิบัติสำหรับโรงเรียนในสถานการณ์ Covid-19

  1. แจ้งผู้ปกครองทันทีเมื่อบุตรหลานมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยง
  2. คัดกรองเด็กนักเรียนบริเวณทางเข้าโรงเรียน เช่น การวัดอุณหภูมิของร่างกาย พร้อมทำสัญลักษณ์สำหรับคนที่ผ่านการคัดกรองแล้ว
  3. ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ อาคารสถานที่ทั้งภายในและภายนอกทันที กรณีที่มีนักเรียน ครู ผู้ดูแลนักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงในระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน ได้เข้ามาบริเวณโรงเรียน อาจพิจารณาปิดโรงเรียนตามความเหมาะสม
  4. พิจารณาการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนตามความเหมาะสม เช่น ปฐมนิเทศ รับน้อง กีฬาสี ปัจฉิมนิเทศ กิจกรรมเข้าค่าย ทัศนศึกษา เป็นต้น หากมีการรวมตัวเกิน 300 คน ควรงดกิจกรรมดังกล่าว
  5. จัดให้มีการดูแลอาคารสถานที่และยานพาหนะ เช่น ทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณที่ใช้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำความสะอาดยานพาหนะรับส่งนักเรียน และเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อระบายอากาศห้องที่ใช้ร่วมกัน
  6. จัดให้มีการดูแลร้านอาหาร ผู้ประกอบอาหาร และการจัดจำหน่ายอาหาร เช่น การทำความสะอาดโรงอาหาร การใส่ถุงมือก่อนหยิบจับอาหารต่างๆ และควรเตรียมอาหารที่ปรุงสุกให้นักเรียนรับประทานภายในเวลา 2 ชั่วโมง เป็นต้น
  7. จัดให้มีการดูแลห้องส้วม เช่น ทำความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อยๆอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยน้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำยาฟอกขาว เป็นต้น
  8. ควบคุมดูแลครู เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียน เช่น กรณีมีการเจ็บป่วย ให้หยุดปฏิบัติงานทันที ควรดูแลและป้องกันตัวเอง เป็นต้น

 

 

ที่มา:

1.ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 https://www.facebook.com/informationcovid19/photos/a.106455480972785/150402129911453/?type=3&theater

2.https://news.thaipbs.or.th/content/292972

 

วารสารประชาสัมพันธ์ กลุ่มพัฒนาการอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 11 Volume 1, Issue 8(May-June’2020)

วารสารประชาสัมพันธ์ กลุ่มพัฒนาการอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 11

Monthly Report>>Volume 1, Issue 8(May-June’2020)

 

“New Normal” คืออะไร ทำไมชีวิตของเราถึงเปลี่ยนไปหลัง “โควิด-19”

New Normal” คืออะไร ทำไมชีวิตของเราถึงเปลี่ยนไปหลัง “โควิด-19”

“New Normal” หรือ New Norm หมายถึง “ความปกติใหม่” นั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวันและการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะออนไลน์

 โดยราชบัณฑิตยสภา บัญญัติศัพท์ “New normal” หมายถึง ความปรกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยเขียนทับศัพท์ว่า “นิวนอร์มัล” ส่วน New norm. หมายถึง บรรทัดฐานใหม่ (*14 พ.ค.2563)

จากเหตุการณ์ Covid-19 ทำให้พฤติกรรมในด้านสุขอนามัยของคนเปลี่ยนไป Telehealth หรือ Telemedicine จะเป็นบริการทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพที่เข้ามามีบทบาทภายหลังจากการระบาดของโรค

เป็นที่ทราบกันดีว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง ทำให้โลกเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างมาก ธุรกิจประเภทที่ปรับตัวได้จะยังคงอยู่รอดและสามารถเติบโตต่อไป

และหลังจากผ่านพ้นวิกฤตนี้ไป จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่เรียกว่า “New Normal” หรือ New Norm ขึ้น ซึ่งก็หมายถึง “ความปกติใหม่” นั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวัน และ การขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะออนไลน์

พฤติกรรมของ New Normal ที่อาจเปลี่ยนไป

  • เที่ยวต่างประเทศน้อยลง
  • ซื้อของกินของใช้ ตุนไว้สำหรับในเวลาฉุกเฉิน
  • เริ่มทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในบางบริษัท
  • ใช้บริการ Food Delivery มากขึ้น
  • หันมาดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น
  • ลดการใช้จ่ายในสิ่งของฟุ่มเฟือย
  • การรักษาระยะห่างทางสังคมและป้องกันตนเองโดยการใส่หน้ากาก

อะไรบ้างจะกลายเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal)

สิ่งที่นักวิเคราะห์ประเมินว่า โควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นเทรนด์ในอนาคตอีกหลายปีข้างหน้าให้เกิดเร็วขึ้น โดยสิ่งที่คาดกันว่า จะกลายเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal) หลังโควิด-19 ได้แก่

  1. พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต จะมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์หรือการทำงานที่บ้าน การประชุมออนไลน์ การสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค การทำธุรกกรรมทางการเงิน หรือการดูละคร ดูหนังผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นชัดมากขึ้นแล้วในขณะนี้
  2. การเว้นระยะห่างทางสังคม จะกลายเป็นความปกติใหม่ของสังคมเช่นกัน ผู้คนจะลดการปฏิสัมพันธ์ ไปในสถานที่สาธารณะน้อยลง เน้นการทำกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น ลดการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ
  3. เทรนด์เรื่องการใส่ใจสุขภาพ ผู้คนจะให้ความสำคัญกับสุขภาพต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้านเป็นเรื่องปกติ การใช้เจลล้างมือ และสังเกตตัวเองเมื่อไม่สบาย
  4. การจับจ่ายใช้สอย การตัดสินใจลงทุน จะเป็นไปด้วยความระมัดระวังมากขึ้น เพราะยังไม่แน่ใจกับเศรษฐกิจ ลดการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือย และหันมาซื้อประกันสุขภาพกันมากขึ้น

“นิว นอร์มอล” (New Normal) ชั่วคราวหรือ “นิว นอร์มอล” (New Normal) ที่จะกลายเป็นเรื่องปกติในโลกใหม่ ?

ก่อนอื่นเราต้องแยกให้ออกว่าอะไรเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal) ที่เกิดขึ้นชั่วคราว และอะไรคือ “นิว นอร์มอล” (New Normal) ที่เป็นโลกหลังโควิด-19 และกลายเป็นวิวัฒนาการใหม่ของสังคมมนุษย์ และระบบโลกใหม่ เช่นพฤติกรรมของการทำกิจกรรมต่างๆผ่านทางออนไลน์มากขึ้น เช่น การซื้อของออนไลน์ การประชุมออนไลน์ สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจกลายเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal) ที่แม้เดิมจะเกิดขึ้นอยู่แล้วแต่ก็มีโควิด-19 เป็นปัจจัยเร่ง ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไปเร็วขึ้น

แต่หลายสิ่งที่เป็นสิ่งผิดปกติชั่วคราวเช่น การบอกว่า ผู้คนไม่อยากออกเดินทางแล้ว ธุรกิจโรงแรมอาจจะไม่สามารถไปต่อได้อีก ซึ่งอันนี้ฟังดูแล้วก็เหมือนไม่ใช่ “นิว นอร์มอล” (New Normal) ที่จะเกิดขึ้นตลอดไปแต่เป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น เพราะถ้าหากมีวัคซีนเข้ามา คนก็จะกลับมาท่องเที่ยวกันตามปกติ ในอนาคตธุรกิจเหล่านี้ก็จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก

หรือ ‘การเรียนออนไลน์’ ที่คนพูดว่าหลังจากเกิดโควิด-19 การเรียนออนไลน์มีบทบาทมากขึ้น ในอนาคตคนไม่ต้องไปโรงเรียนไม่ต้องไปมหาวิทยาลัยแล้ว การเรียนออนไลน์จะกลายเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal)  ซึ่งข้อนี้ก็อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด เพราะขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมนั้นๆด้วย ตัวอย่างเช่น ที่สหรัฐอเมริกามีการเรียนการสอนออนไลน์มากเป็นปกติ การเกิดโควิด-19 ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก ตรงกันข้ามคนเริ่มคิดถึงการเรียนการสอนแบบปกติที่ครูจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนและแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ทันทีมากกว่าด้วย ขณะที่ในญี่ปุ่นก่อนหน้าการเกิดโควิด-19 การเรียนออนไลน์ไม่เป็นที่นิยมเลย เมื่อเกิดโควิด-19 จึงเป็นสถานการณ์บังคับที่ให้ทุกสถานศึกษาต้องปรับตัว และมีแนวโน้มว่าหลังจากโควิด-19 ญี่ปุ่นก็จะมีการเรียนการสอนแบบออนไลน์มากขึ้น แต่การสอนแบบเดิมก็ยังคงมีอยู่

การใส่หน้ากากอนามัยที่เราพูดกันว่าเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal) สิ่งนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ตลอดไป แต่จะเกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อวันหนึ่งมนุษย์สามารถผลิตวัคซีนได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปีนับจากนี้ โควิด-19 ก็จะกลายเป็น ‘โรคประจำถิ่น’ (Endemic) ไม่ต่างจากโรคไข้หวัดใหญ่ และเมื่อถึงตอนนั้นธรรมชาติเดิมของมนุษย์ที่ชอบการร่วมกลุ่มก็จะกลับมาอีกรั้ง การเว้นระยะห่างทางสังคมก็จะเริ่มหายไป เพราะสุดท้ายเราปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม

ที่มา:

https://www.sanook.com/health/22569/

https://workpointnews.com/2020/05/06/new-normal-covid19-newworld/

https://news.thaipbs.or.th/content/292432

https://www.obec.go.th/archives/252307