กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วครับ
>>สำหรับแนวทางปฏิบัติ สามารถศึกษาได้ตามลิงค์ :แนวทางการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ ยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ
https://drive.google.com/drive/folders/1GP_ty89FVedwP67Z-ICH-yNO2MZH0mbz
กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วครับ
>>สำหรับแนวทางปฏิบัติ สามารถศึกษาได้ตามลิงค์ :แนวทางการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ ยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ
https://drive.google.com/drive/folders/1GP_ty89FVedwP67Z-ICH-yNO2MZH0mbz
ผ่านมาครึ่งเทอมแล้วสำหรับการเปิดเรียน พร้อมกับการจัดการตามมาตรการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการตรวจราชการและกำกับติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคดังกล่าวของสถานศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีการจัดตั้ง “ผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน” ซึ่งเป็นจิตอาสาที่เป็นข้าราชการบำนาญ ด้านการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา โดยมีบทบาทดำเนินการแนะนำให้ความรู้การดูแลสุขภาพ ตรวจตรา และติดตามการปฏิบัติตามมาตรการและให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ จังหวัดละ 2 คน รายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องกลับมายังกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคโควิด 19 เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและปลอดภัยสูงสุด ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับผู้พิทักษ์อนามัยกันครับ
“ผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน” จิตอาสาป้องกันโควิด-19
สถานศึกษาหรือโรงเรียนมีหน้าที่พัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีศักยภาพ สามารถเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นสถานที่ปลูกฝังความรู้ ทัศนคติ สร้างพฤติกรรมอย่างเหมาะสมแข็งแรงทั้ง
ด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเด็กในวัยเรียนทุกคนจะใช้เวลาอยู่ในสถานศึกษาเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ทำให้สถานศึกษากลายเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า 2019
ดังนั้นเพื่อการกำกับ ติดตาม ป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด 19 อย่างมีประสิทธิภาพ กรมอนามัยในฐานะเป็นองค์กรหลักในการอภิบาลระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงส่งเสริมให้มี “ผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน” ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ ตรวจตรา เฝ้าระวัง และรายงาน การปฏิบัติตามมาตรการหลักในการป้องกัน การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในสถานศึกษาขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1.สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและได้รับการสนับสนุนให้มีชีวิตอยู่ภายใต้สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเกิดโรค (New Norm) 2.สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเฝ้าระวังการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในโรงเรียนและชุมชน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดซ้ำ และ3.สร้างระบบการเฝ้าระวังการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในโรงเรียน ชุมชน และมี Health coach เพื่อช่วยเหลือในระดับพื้นที่
คุณสมบัติผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน
บทบาทผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน
เห็นแบบนี้แล้วผู้ปกครองก็คงจะรู้สึกอุ่นใจได้ระดับหนึ่งแล้วนะครับ ซึ่งนอกจากมาตรการต่างๆเหล่านี้ที่รัฐได้จัดให้แล้ว ที่เหลือก็คือตัวเราเองที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆอย่างเข้มงวด อย่าชะล่าใจเพราะสถานการณ์โลกในขณะนี้แนวโน้มผู้ป่วยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นวิถี New Normal ยังคงเป็นคำตอบสำคัญสำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ต่อไป
ที่มา : กรมอนามัย
ขอบคุณภาพถ่ายจาก เครือข่ายผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียนพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11
ช่วงนี้เป็นช่วงการผ่อนปรนตามมาตรการจัดการสถานการณ์โควิด-19 หลายๆแห่งเริ่มมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายขึ้น เริ่มมีการรวมตัวของประชาชนมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้เกิดการผ่อนคลาย และกิจกรรมสำคัญกิจกรรมหนึ่งที่หลายๆแห่งเริ่มทยอยจัดขึ้น คือการวิ่ง ดังนั้นในวันนี้เราจะนำเสนอมาตรการแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และการฝึกซ้อม ในสถานประกอบการประเภทการจัดกิจกรรมแข่งขันวิ่ง มาให้ทุกท่านรับทราบและถือปฏิบัติไปด้วยกันครับ
แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และการฝึกซ้อม ในสถานประกอบการประเภทการจัดกิจกรรมแข่งขันวิ่ง หมวดกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการ
แนวทางปฏิบัติสำหรับนักกีฬาวิ่งและผู้ใช้บริการ
แนวปฏิบัติเพิ่มเติมสำหรับการจัดงานวิ่ง
ที่มา : กรมอนามัย
ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/chombuengmarathon/
New Normal คือความปรกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งหมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีตเพราะได้รับผลกระทบจากบางสิ่ง บางเหตุการณ์ จนแบบแผนและแนวทางที่คุ้นเคยเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีชีวิตใหม่ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดความคุ้นชิน และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตปรกติ
New Normal ถูกใช้ครั้งแรกโดยบิลล์ กรอส (Bill Gross) ผู้ก่อตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ชาวอเมริกัน โดยใช้อธิบายสภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ในสหรัฐฯ ช่วงระหว่างปี 2007-2009 และถูกนำมาใช้สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลง และมีโอกาสที่จะไม่กลับมาเติบโตถึงระดับเดิมได้อีก
1. การใช้เทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีควบคู่กับอินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตมากขึ้น ที่จากเดิมมีมากอยู่แล้ว แต่ในสังคมยุค New Normal สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในแทบทุกจังหวะชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การเรียนออนไลน์ การทำงานที่บ้าน การประชุมออนไลน์ การซื้อสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรม และการเอ็นเตอร์เทนชีวิตรูปแบบต่างๆ อย่างดูหนัง ฟังเพลง
2. การเว้นระยะห่างทางสังคม ผู้คนในสังคมจะเห็นความสำคัญของการเว้นระยะห่างที่เป็นแนวทางการใช้ชีวิตช่วงวิกฤติโควิด-19 และจะดำเนินชีวิตแบบนั้นต่อไป โดยรักษาระยะห่างทางกายภาพเพิ่มขึ้น และใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการสื่อสารและการใช้ชีวิต ลดการปฏิสัมพันธ์ การไปในสถานที่สาธารณะ และเน้นการทำกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น
3. การดูแลใส่ใจสุขภาพทั้งตัวเองและคนรอบข้าง โดยเกิดความคุ้นชินจากช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ต้องดูแลด้านสุขภาพและความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ดังนั้นพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และการล้างมืออย่างถูกวิธี และหมั่นสังเกตตัวเองเมื่อไม่สบายจะยังคงมีต่อไป รวมถึงการหันมาใส่ใจสุขภาพ การออกกำลังกาย และการทำประกันสุขภาพจะมีแนวโน้มมากขึ้น
4. การใช้เงินเพื่อการลงทุน ยุค New Normal เป็นจังหวะที่ผู้คนยังระมัดระวังการลงทุนใหม่ๆ และลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน
5. การสร้างสมดุลชีวิต การมีโอกาสได้ทำงานที่บ้าน ลดจำนวนวันการเข้าออฟฟิศ หรือการลดการพะปะผู้คนในสังคม แล้วหันมาใช้ชีวิต และทำงานที่บ้าน ทำให้ผู้คนมองเห็นแนวทางที่จะสร้างสมดุลชีวิตระหว่างอยู่บ้านมากขึ้น และจะเป็นแนวทางในการปรับสมดุลชีวิตระหว่างเวลาส่วนตัว การงาน และสังคมให้สมดุลมากยิ่งขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนนั้น ได้มีการสำรวจโดยสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ซึ่งได้เปิดผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง จริตใหม่ประชาชนหลังพ้นโควิด-19 กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,255 ตัวอย่าง ซึ่งผลสรุปบางส่วนออกมา ดังนี้
5 ปรากฎการณ์ New Normal หลังผ่านพ้นโควิดฯ
1. โลกจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี โดยเทคโนโลยีจะค่อย ๆ เข้ามาบทบาทในทุกธุรกิจ เพื่อช่วยในเรื่องการสร้างรายได้ เพิ่มยอดขาย การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้นและรวดเร็วยิ่งกว่า การทำธุรกิจรูปแบบออฟไลน์ หรือมีหน้าร้านเปิดขายช่องทางเดียวในรูปแบบเดิม ๆ ที่สำคัญ ในบางองค์กร หรือบางบริษัท อาจมีมาตรการปรับลดจำนวนพนักงาน เพราะการเข้ามาของ Ai หรือ “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” ตลอดจน การที่กลุ่มคนทำงานในบางสาขาอาชีพ สามารถ Work From Home หรือทำงานที่บ้านได้ ผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ และแพลตฟอร์มที่ล้ำสมัยต่าง ๆ ทำให้นายจ้างในบางองค์กรมองว่า สามารถลดภาระการดูแลพนักงาน ในขณะที่ธุรกิจยังคงขับเคลื่อนได้ตามปกติ
2.การซื้อขายสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์จะเติบโตขึ้นอีกอย่างมหาศาลเพราะทุกคนยังมีความกังวลและตระหนักถึงความไม่ปลอดภัย ในการออกจากบ้านไปชอปปิ้งตามห้างฯ เหมือนเช่นพฤติกรรมปกติที่ทำกันก่อนหน้าโควิด
ซึ่งปัจจุบัน พฤติกรรมจับจ่ายใช้สอยแบบออฟไลน์จะมีความเสี่ยงติดโรคที่สูงขึ้น อีกทั้ง สินค้าจำพวกของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ จะถูกแปรรูปมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หันมาสั่งซื้อออนไลน์ โดยการคิดค้นและผ่านกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้สามารถเก็บได้นานขึ้น เพื่อให้ End User สามารถสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ และนำไปปรุงอาหารทานได้อย่างปลอดภัย
3.จับจ่ายด้วยเหตุผลเหนืออารมณ์และความอยากด้วยเศรษฐกิจโลกไม่ดีอยู่แล้ว ซ้ำร้ายมาเจอพิษโควิดขวิดเข้าใส่อีก ทำให้ประชาชนทั่วโลกต่างรู้ดีว่า ต้องรัดเข็มขัดให้แน่นขึ้นกว่าเดิม
การเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและการใช้บริการธุรกิจแต่ละประเภท โดยกลุ่มผู้บริโภคแต่ละคนจะคำนึงถึง เหตุผลและความจำเป็น มากกว่าสนองความต้องการของตัวเอง โดยจะระมัดระวังการจับจ่ายในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ ประชาชนจะให้ความสำคัญในเรื่องของเงินออมและการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด
4.สังคมปลอดเชื้อโดยทุก ๆ สถานที่ทั่วประเทศและทั่วโลกจะถูกเฝ้าจับตามอง การเดินทางเข้า / ออก ข้ามเขต ข้ามเมือง ข้ามประเทศ จะถูกคุมเข้มภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างรัดกุม ซึ่งที่พวกเราไม่เคยพบเจอมาก่อน ธุรกิจที่จำเป็นต้องดึงคนเข้าร่วม เช่น อีเว้นท์ หรือกิจกรรมสาธารณะ ธุรกิจฟิตเนส การเข้าชมคอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ ฯลฯ จะต้องการันตีว่า เป็นสังคมปลอดเชื้อ 100% และเราจะรู้สึกได้ว่า ทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
5.ทุกอย่างจะส่วนตัวมากขึ้นทั้งในเรื่องไลฟ์สไตล์ หรือการประกอบอาชีพ / การทำธุรกิจ ซึ่งจะไม่มีการรวมกลุ่มถ้าไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อจะสอบถามสินค้าและบริการกับผู้ขาย ผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์ หากพอใจในการตรวจดูสินค้าหรือบริการนั้น ๆ จะสั่งซื้อ รอรับสินค้าหรือบริการที่บ้าน หรือจุดนัดรับ เพื่อลดความเสี่ยงการเดินทางไปพบปะพูดคุยกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อไวรัส และยังช่วยประหยัดเวลา และสะดวกรวดเร็วในการซื้อขาย/ทำธุรกิจอีกด้วย
ขณะที่โควิด-19 กำลังระบาดนั้น ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตของผู้คน แต่ยังส่งผลกระทบให้ธุรกิจ และเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง บางธุรกิจอาจเติบโต เพราะปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้ ขณะที่บางธุรกิจอาจทรุดหรือปิดตัวเพราะไม่พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงนั้น แน่นอนว่าเมื่อวิกฤติครั้งนี้ผ่านพ้นไป ย่อมพ่วงมาด้วยความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เรียกว่า New Normal ซึ่งจะเข้ามามีบทบาท และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแนวทางและรูปแบบการดำเนินธุรกิจทุกขนาด โดยแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้
“New Normal” ในวันนี้อาจเป็นแนวทางในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และจะกลายเป็นคำที่ถูกพูดถึงอย่างปรกติวิธีในอนาคตเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในวิกฤติต่างๆ ก่อนหน้านี้ แต่การเตรียมพร้อมและตั้งรับอย่างดียังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทั้งธุรกิจและชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ไม่ว่าจะมีอีกกี่วิกฤติผ่านเข้ามา
ที่มา:
1.https://www.flathailand.com/franchise_knowledge_detail.asp?topicid=281
2.https://www.dharmniti.co.th/new-normal/
3.http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER11/DRAWER091/GENERAL/DATA0000/00000923.PDF
การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาก่อนเปิดเทอม
กรมอนามัย ได้ให้แนวทางเพื่อเป็นกรอบประเมินความพร้อมของสถานศึกษาไว้เป็น 6 มิติ ได้แก่
มิติที่ 1 การดำเนินงานเพื่อความปลอดภัย ลดการแพร่เชื้อโรคด้วย 6 มาตรการหลักคือ 1) มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา 2) สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสถานศึกษา 3) ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกฮอล์อย่างเพียงพอ 4) จัดให้มีการเว้นระยะห่าง 5) ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสที่มีการใช้ร่วมกันบ่อย และ 6) ลดความแออัด ไม่จัดกิจกรรมที่มีการสัมผัสร่วมกัน
มิติที่ 2 การเรียนรู้ สนับสนุนสื่อความรู้ป้องกัน COVID- 19 เตรียมความพร้อมการเรียนรู้ของเด็กตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนาการ และสร้างความเข้มแข็ง ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส กลุ่มเด็กพิเศษ และเด็กในพื้นที่ห่างไกลมาก
มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง เตรียมแผนรองรับด้านการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย แนวปฏิบัติเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma)
มิติที่ 5 นโยบาย มีแผนงาน โครงการรองรับ แต่งตั้งคณะทำงาน กำหนดบทบาทหน้าที่และสื่อสาร
มิติที่ 6 การบริหารการเงิน โดยพิจารณาการใช้งบประมาณสำหรับการป้องกันการระบาดของโรค COVID-9 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ซึ่งนอกจากสถานศึกษาจะต้องควบคุมมาตรการ และปฏิบัติตามคำแนะนำในทุกมิติแล้ว ในส่วนของผู้ปกครองซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด สามารถมีบทบาทและมีส่วนร่วมกับสถานศึกษาเพื่อป้องกัน COVID-19 ได้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถเข้าไปประเมินตนเองตามมาตรการต่างๆได้ที่ แพลทฟอร์ม THAISTOPCOVID กรมอนามัย https://stopcovid.anamai.moph.go.th/ เมนูแบบประเมินสถานประกอบการ เลือกโรงเรียน/สถานศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดภาคเรียนที่จะมาถึงนี้
8 ข้อควรปฏิบัติสำหรับโรงเรียนในสถานการณ์ Covid-19
ที่มา:
1.ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 https://www.facebook.com/informationcovid19/photos/a.106455480972785/150402129911453/?type=3&theater
2.https://news.thaipbs.or.th/content/292972
“New Normal” คืออะไร ทำไมชีวิตของเราถึงเปลี่ยนไปหลัง “โควิด-19”
“New Normal” หรือ New Norm หมายถึง “ความปกติใหม่” นั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวันและการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะออนไลน์
โดยราชบัณฑิตยสภา บัญญัติศัพท์ “New normal” หมายถึง ความปรกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยเขียนทับศัพท์ว่า “นิวนอร์มัล” ส่วน New norm. หมายถึง บรรทัดฐานใหม่ (*14 พ.ค.2563)
จากเหตุการณ์ Covid-19 ทำให้พฤติกรรมในด้านสุขอนามัยของคนเปลี่ยนไป Telehealth หรือ Telemedicine จะเป็นบริการทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพที่เข้ามามีบทบาทภายหลังจากการระบาดของโรค
เป็นที่ทราบกันดีว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง ทำให้โลกเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างมาก ธุรกิจประเภทที่ปรับตัวได้จะยังคงอยู่รอดและสามารถเติบโตต่อไป
และหลังจากผ่านพ้นวิกฤตนี้ไป จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่เรียกว่า “New Normal” หรือ New Norm ขึ้น ซึ่งก็หมายถึง “ความปกติใหม่” นั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวัน และ การขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะออนไลน์
พฤติกรรมของ New Normal ที่อาจเปลี่ยนไป
อะไรบ้างจะกลายเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal)
สิ่งที่นักวิเคราะห์ประเมินว่า โควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นเทรนด์ในอนาคตอีกหลายปีข้างหน้าให้เกิดเร็วขึ้น โดยสิ่งที่คาดกันว่า จะกลายเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal) หลังโควิด-19 ได้แก่
“นิว นอร์มอล” (New Normal) ชั่วคราวหรือ “นิว นอร์มอล” (New Normal) ที่จะกลายเป็นเรื่องปกติในโลกใหม่ ?
ก่อนอื่นเราต้องแยกให้ออกว่าอะไรเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal) ที่เกิดขึ้นชั่วคราว และอะไรคือ “นิว นอร์มอล” (New Normal) ที่เป็นโลกหลังโควิด-19 และกลายเป็นวิวัฒนาการใหม่ของสังคมมนุษย์ และระบบโลกใหม่ เช่นพฤติกรรมของการทำกิจกรรมต่างๆผ่านทางออนไลน์มากขึ้น เช่น การซื้อของออนไลน์ การประชุมออนไลน์ สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจกลายเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal) ที่แม้เดิมจะเกิดขึ้นอยู่แล้วแต่ก็มีโควิด-19 เป็นปัจจัยเร่ง ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไปเร็วขึ้น
แต่หลายสิ่งที่เป็นสิ่งผิดปกติชั่วคราวเช่น การบอกว่า ผู้คนไม่อยากออกเดินทางแล้ว ธุรกิจโรงแรมอาจจะไม่สามารถไปต่อได้อีก ซึ่งอันนี้ฟังดูแล้วก็เหมือนไม่ใช่ “นิว นอร์มอล” (New Normal) ที่จะเกิดขึ้นตลอดไปแต่เป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น เพราะถ้าหากมีวัคซีนเข้ามา คนก็จะกลับมาท่องเที่ยวกันตามปกติ ในอนาคตธุรกิจเหล่านี้ก็จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก
หรือ ‘การเรียนออนไลน์’ ที่คนพูดว่าหลังจากเกิดโควิด-19 การเรียนออนไลน์มีบทบาทมากขึ้น ในอนาคตคนไม่ต้องไปโรงเรียนไม่ต้องไปมหาวิทยาลัยแล้ว การเรียนออนไลน์จะกลายเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal) ซึ่งข้อนี้ก็อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด เพราะขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมนั้นๆด้วย ตัวอย่างเช่น ที่สหรัฐอเมริกามีการเรียนการสอนออนไลน์มากเป็นปกติ การเกิดโควิด-19 ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก ตรงกันข้ามคนเริ่มคิดถึงการเรียนการสอนแบบปกติที่ครูจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนและแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ทันทีมากกว่าด้วย ขณะที่ในญี่ปุ่นก่อนหน้าการเกิดโควิด-19 การเรียนออนไลน์ไม่เป็นที่นิยมเลย เมื่อเกิดโควิด-19 จึงเป็นสถานการณ์บังคับที่ให้ทุกสถานศึกษาต้องปรับตัว และมีแนวโน้มว่าหลังจากโควิด-19 ญี่ปุ่นก็จะมีการเรียนการสอนแบบออนไลน์มากขึ้น แต่การสอนแบบเดิมก็ยังคงมีอยู่
การใส่หน้ากากอนามัยที่เราพูดกันว่าเป็น “นิว นอร์มอล” (New Normal) สิ่งนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ตลอดไป แต่จะเกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อวันหนึ่งมนุษย์สามารถผลิตวัคซีนได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปีนับจากนี้ โควิด-19 ก็จะกลายเป็น ‘โรคประจำถิ่น’ (Endemic) ไม่ต่างจากโรคไข้หวัดใหญ่ และเมื่อถึงตอนนั้นธรรมชาติเดิมของมนุษย์ที่ชอบการร่วมกลุ่มก็จะกลับมาอีกรั้ง การเว้นระยะห่างทางสังคมก็จะเริ่มหายไป เพราะสุดท้ายเราปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม
ที่มา:
https://www.sanook.com/health/22569/
https://workpointnews.com/2020/05/06/new-normal-covid19-newworld/
เรื่องดีๆของวิตามินดี ซึ่งประโยชน์ของวิตามินดีนั้นมีมากมาย ไม่เพียงแต่เฉพาะในกระดูก แต่มีผลสำคัญในระบบอื่นๆด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการขาดวิตามินดี เราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีสูง ร่วมกับ ปรับวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ออกสัมผัสแสงแดดยามเช้า นอกจากนั้น การรับประทานวิตามินดีในรูปแบบของวิตามินเสริม ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก โดยปริมาณของวิตามินดีที่แนะนำว่าควรได้รับต่อวัน (The Recommended Dietary Allowance – RDA) คือ 600 international units (IU) สำหรับผู้ใหญ่จนถึงวัย 70 ปี ซึ่งข้อดีของวิตามินดี มีดังนี้
นักวิทยาศาสตร์รู้กันดีว่าวิตามินดีคือสิ่งจำเป็นในการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งถ้าใครขาดวิตามินดีก็จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของวิตามินดีนั้น ก็น่าจะเป็นในเรื่องการเสริมสร้างแคลเซี่ยมขื้นมาในร่างกาย ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง และป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ นอกจากนี้การศึกวิจัยครั้งใหม่ยังพบด้วยว่า วิตามินอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจวาย เบาหวาน มะเร็ง การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิต้านทานตัวเอง และอาการผมร่วง ซึ่งคนในยุคนี้มีอาการขาดวิตามินดีกันมากขึ้น เนื่องจากต้องนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศตั้งแต่เช้ายันค่ำ หรือแม้แต่ทาครีมกันแดด เลยทำให้ผิวไม่ได้รับการกระตุ้นจากแสงแดดในการสร้างวิตามินดีขึ้นมา อาการขาดวิตามินดีของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีอาการปวดบริเวณข้อต่อ กล้ามเนื้อ และกระดูก อ่อนเพลีย มีปัญหาด้านการหายใจ และมีภาวะซึมเศร้า
รู้แบบนี้แล้วอย่าลืมหาวิตามินดีมาทานกันนะครับ หรือเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีกันด้วยนะครับ
Credit: Sanook.com และ กรมอนามัย
รู้หรือไม่..ทำไมต้องห่างกัน
S o c i a l D i s t a n c i n g แปลตรงตัวคือ ร ะ ย ะ ห่ า ง ท า ง สั ง ค ม คืออะไร?
“การเว้นระยะห่างทางสังคมหมายถึงการป้องกันไม่ให้คนสองคนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์กันทางกายภาพอย่างใกล้ชิดเพื่อยับยั้งหรือหยุดการระบาดของโรค” <อรินดัม พสุ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาระบาดวิทยาและอนามัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอร์รี นิวซีแลนด์><bbc.com>
<workpointnews.com>Social Distancing หรือ “การเว้นระยะห่างทางสังคม” คือการสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราเองกับคนอื่น ๆ ในสังคม รวมถึงการลดการออกไปทำกิจรรมนอกบ้านโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะ การไม่เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และการทำงานอยู่ที่บ้าน ทั้งนี้ ทุกๆ การลดจำนวนการติดต่อระหว่างคนต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือที่สถาบันการศึกษา จะช่วยลดการแพร่เชื้อไวรัสในสังคมเป็นอย่างมาก
จริงๆ แล้ว Social Distancing ต้องทำอย่างไร
ข้อมูลจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐฯ หรือ CDC คำว่า Social Distancing หมายถึง การหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีคนจำนวนมากมารวมตัวกัน และการรักษาระยะห่างจากผู้อื่นประมาณ 2 เมตร
นอกจากนั้น เรายังต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางกายภาพ เพราะอาจเป็นการนำเชื้อมาสู่ตัวเอง หรืออาจเป็นการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น, หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้านหรือเดินทางออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น, ลดการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง, การ Work From Home หรือการทำงานจากบ้าน และการเรียนการสอนผ่านทางช่องทางออนไลน์ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สถานศึกษาต่างๆ นำมาใช้
คำฮิตมาแรง S o c i a l D i s t a n c i n g
” ร ะ ย ะ ห่ า ง ท า ง สั ง ค ม ”
#SocialDistancing
#ความรู้COVID19กรมอนามัย
ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019
1.ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเชื้อไวรัส
1.1 เชื้อไวรัสโคโรน่า คืออะไร
ไวรัสโคโรนา เป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่สามารถก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจในคน ซึ่งไวรัสที่อยู่ในกลุ่มนี้
มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่ทำให้เกิดอาการไม่รุนแรง คือ เป็นไข้หวัดธรรมดา ในขณะที่บางสายพันธุ์อาจก่อให้เกิด
อาการรุนแรงเป็นปอดอักเสบได้ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส) หรือ โรคซาร์ (SARS)
ซึ่งเคยมีการระบาดในอดีตที่ผ่านมา
1.2 ไวรัสโคโรนำสำยพันธุ์ใหม่ 2019 คืออะไร
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คือ ไวรัสในกลุ่มโคโรนาที่เพิ่งมีการค้นพบใหม่ (ไม่เคยมีการพบเชื้อนี้ในคน
มาก่อน) โดยพบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019
2.การติดต่อและอาการ
2.1 คนสามารถติดเชื้อไวรัสโคโรนำสำยพันธุ์ใหม่ 2019 นี้ได้หรือไม่
คนสามารถติดเชื้อได้ จากข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563 พบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสนี้
จ านวน 1,354 ราย เสียชีวิต 41 ราย นอกจากนี้ไวรัสสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ผ่านทางการไอ จาม สัมผัส
น้ ามูก น้ าลาย ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจสงสัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่
2019 ไปสัมผัสใกล้ชิดหรือใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่น เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ
2.2 อาการป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นอย่างไร
ผู้ป่วยที่ต้องสงสัยโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 จะมีอาการไข้ ร่วมกับ อาการทางเดิน
หายใจ เช่น ไอจาม มีน้ ามูก เหนื่อยหอบ และมีประวัติเดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน หรือเมือง
ที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ระบาด ภายใน 14 วันก่อนเริ่มมีอาการป่วย
3.คำแนะนำในการป้องกันตนเอง
3.1 หากมีอาการป่วย
หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ น้ ามูกไหล หายใจเหนื่อย ภายใน 14 วัน หลังกลับมาจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย
ประเทศจีน โปรดไปพบแพทย์และยื่นบัตรค าแนะน าด้านสุขภาพส าหรับผู้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย กับแพทย์
ผู้ท าการรักษาพร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง ท่านอาจได้รับเชื้อโรคก่อนเดินทางมายังประเทศไทย กรุณาแจ้ง
รายละเอียดต่างๆ กับแพทย์ผู้ท าการรักษา เช่น อาการป่วย วันที่เริ่มมีอาการป่วย วันเดินทางมาถึงประเทศไทย
สถานที่พัก เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องและรักษาได้ทันท่วงที แพทย์ผู้ท าการรักษาจะรายงานต่อหน่วยงาน
สาธารณสุขในพื้นที่หรือส านักงานสาธารณสุขจังหวัด และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินการ
ป้องกันควบคุมโรคโดยเร็ว
3.2 การล้างมือ
– Normal hand washing (การล้างมือทั่วไป)
การล้างมือเพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ เหงื่อ ไขมัน ที่ออกมาตามธรรมชาติ และลดจ านวนเชื้อโรคที่อาศัยอยู่
ชั่วคราวบนมือ การล้างมืออย่างถูกวิธีต้องล้างด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้เวลาในการฟอกมือนานประมาณ 15 วินาที
– การล้ำงมือด้วยแอลกอฮอล์เจล (Alcohol gel)
การล้างมือในกรณีรีบด่วน ไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ าและมือไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรก หรือสารคัดหลั่งจาก
ผู้ป่วย ให้ท าความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจลประมาณ 10 มิลลิลิตร ใช้เวลา
ประมาณ 15-25 วินาที (ในกรณีใช้แอลกอฮอล์เจล (Alcohol Gel) ไม่ต้องล้างมือซ้ าด้วยน้ า และไม่ต้องเช็ดด้วยผ้า
เช็ดมือ)
3.3 การสวมใส่หน้ากากอนามัย
วิธีการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง ควรให้ด้านสีเข้มออกด้านนอกเสมอ คลุมให้ปิดจมูก ปาก คาง คล้องหู
ขยับให้พอดีกับใบหน้า กดลวดขอบบนให้สนิทกับสันจมูก โดยเปลี่ยนทุกวันและทิ้งลงในภาชนะที่มีฝาปิด เพื่อ
ป้องกันการติดเชื้อ ทั้งจากตนเองและผู้อื่น
3.4 การไอ จาม ที่ถูกวิธี
-เมื่อรู้สึกว่าจะไอ จาม ควรหากระดาษช าระ หรือทิชชู่ มาปิดปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกระจาย แล้ว
นำไปทิ้งในถังขยะปิดให้เรียบร้อย
– เมื่อรู้สึกว่าจะไอ จาม แล้วไม่มีกระดาษชำระ ควรใช้การไอ จามใส่ข้อศอก โดยยกแขนข้างใดข้างหนึ่งมาจับ
ไหล่ตัวเองฝั่งตรงข้าม และยกมุมข้อศอกปิดปากและจมูกตนเองก่อนจาม ไอทุกครั้งไม่ควรไอ จามใส่มือ